27/07/2024

ใครกินข้าวสารเก็บ10ปี เสี่ยงติดโรคเชื้อรา-ที่ปอดแบบรุกราน

ใครกินข้าวสารเก็บ10ปี เสี่ยงติดโรคเชื้อรา-ที่ปอดแบบรุกราน
ผลงานการวิจัยของนักวิชาการ 4 ท่าน ที่เผยแพร่โดยกรมวิชาการเกษตร เมื่อปี 2528 เรื่อง การใช้สารรมฟอสฟีนเพื่อเก็บรักษาข้าวสารในระยะยาว ที่ทำการศึกษาโดย คุณชูวิทย์ ศุขปราการ (ปัจจุบันได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นบุคคลดีเด่นด้านอารักขาพืชสาขากีฏและสัตววิทยา ประจำปี2562) คุณกัญจนา พุทธสมัย คุณเครือวัลย์ อัตตะวิริยะสุข และคุณละม้ายมาศ ขาวไชยมหา
           ได้ข้อสรุปว่า การใช้สารรมฟอสฟีน30วันและ60วัน ปรากฎว่าไม่มีการทำลายของแมลง ไม่พบแมลงที่มีชีวิต และไม่พบสารแอลฟลาท็อกซิล
            แต่ พบว่ามีเชื้อราบางชนิดที่มีมากกว่าก่อนเก็บข้าวสาร คือเชื้อราชื่อ Aspergillus sp.
           จากการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม มีบทความของชมรมเชื้อราทางการแพทย์ประเทศไทย ที่เขียนโดย นพ.มั่นจิตต์ ณ สงขลา บุตรชายนายแพทย์มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  บอกว่า การติดเชื้อรา Aspergillus แบบรุกรานมักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำโดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำนานมากกว่า 2 สัปดาห์ เป็นผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูกที่มีภาวะ GVHD หรือผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันหลายขนาน
การติดเชื้อแบบรุกรานนี้สามารถพบได้หลายอวัยวะจึงมีอาการทางคลินิกได้หลากหลาย แต่ส่วนมากมักพบเป็นการติดเชื้อที่ปอดสูงถึงประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบบรุกรานทั้งหมด เรียกว่าโรคติดเชื้อรา Aspergillus ที่ปอดแบบรุกราน (Invasive pulmonary aspergillosis: IPA)
           ดังนั้น ข้าวสารเก็บไว้10ปี จะมีเชื้อรา Aspergillus มากเพียงใด และจะเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อรา-ปอดแบบรุกราน หรือไม่ ผู้ที่กินข้าวสารเก็บ10ปี ท่านกำลังอยู่ในความเสี่ยง นะครับเจ้านาย

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป