12/12/2024

“ประธานอู๊ด” นำคณะอนุกมธ. ลงพื้นที่เมืองสุพรรณ ศึกษาเครื่องแจ้งเตือนภัย หวังสร้างความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว

IMG_3804

“ประธานอู๊ด” นำคณะอนุกมธ. ลงพื้นที่เมืองสุพรรณ ศึกษาเครื่องแจ้งเตือนภัย หวังสร้างความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 พล.ต.ต.อังกูร คล้ายคลึง ประธานอนุกรรมาธิการความปลอดภัยด้านกานท่องเที่ยวและกีฬา วุฒิสภา พร้อมด้วย นายศรายุทธ ยิ้มยวน สมาชิกวุฒิสภา นำคณะอนุกรรมาธิการฯ คณะที่ปรึกษา ศึกษาดูงานวิจัยการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อบูรณาการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองปลอดภัย ที่สวนหินธรรมชาติพุหางนาค ภูเขาแห่งศรัทธา
ต.อู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

เป็นผลงานนวัตกรรม การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากทุนทรัพยากรท้องถิ่น ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำการท่องเที่ยวด้วยชุมชน จากคณะทีมวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ในการพัฒนานวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีแบบพกพา พร้อมระบบติดตามแบบออนไลน์ เพื่อช่วยเหลือนักท่องเที่ยว

ทั้งนี้มีการจำลองเหตุการณ์ขณะที่นักท่องเที่ยวเดินขึ้นเขาเข้าป่าเที่ยวชมสวนหินธรรมชาติพุหางนาค แล้วเกิดประสบอุบัติ ได้ขอความช่วยเหลือผ่านเครื่อง Smart Guide box ที่ติดตั้งในแหล่งท่องเที่ยว และจุดเสี่ยง

ผศ.ดร.วารุณี ศรีสงคราม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กล่าวว่า โครงการวิจัยดังกล่าว เป็นการนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่จะนำไปบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองให้มีความปลอดภัย โดยผ่านเครื่องมือ Smart Guide box ซึ่งทำหน้าที่ในการให้ข้อมูล แจ้งพิกัด จากการขอความช่วยเหลือ เพื่อส่งข้อมูลดังกล่าวไปให้สถานีตำรวจในพื้นที่ อปพร. รพ.สต. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ

รวมถึงอุปกรณ์สวมใส่และระบบติดตาม เพื่อเสริมความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว เป็นการพัฒนาต่อยอดจาก Smart Guide box ในการติดตามตัวนักท่องเที่ยว รวมถึงเป็นการแจ้งเตือนสถานที่เสี่ยงภัย ให้นักท่องเที่ยวระวัง อีกทั้งยังแสดงการตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เช่น นักท่องเที่ยวเกิดอุบัติเหตุ หรือร้องขอความช่วยเหลือ เป็นเทคโนโลยีที่มาช่วยให้การท่องเที่ยวปลอดภัย

ด้าน พล.ต.ต.อังกูร กล่าวว่า จากที่ได้นำคณะมาศึกษาดูงาน และมีการจำลองเหตุการณ์ จึงทำให้เห็นปัญหาและอุปสรรค เพราะแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ครั้งนี้พบอุปสรรคเกี่ยวกับสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ไม่มี เพราะตั้งอยู่ในเขตอุทยาน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ต้องมีการระดมความคิดเพืีอหาทางแก้ไข รวมถึงสายด่วน มีเพียงเบอร์โรงพักถ้าเป็นคนไทยยังสื่อสารกันเข้าใจ แต่ถ้าเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างภาษา จะสื่อสารสร้างความเข้าใจยาก จึงเป็นข้ออุปสรรคที่ต้องปรับแก้ต่อไป และหากผลสำเร็จจากโมเดลใน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี จะนำไปขยายผลยังพื้นที่จังหวัดการท่องเที่ยวของประเทศต่อไป
//

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป