27/07/2024

ปทุมธานี พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี เปิดหลักสูตร FAST Model พัฒนาความรู้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และสถานพินิจฯ ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรูปแบบชุมชนบำบัด

ปทุมธานี พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี เปิดหลักสูตร FAST Model พัฒนาความรู้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และสถานพินิจฯ ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรูปแบบชุมชนบำบัด

เมื่อวันที่ 11 มี.ค.67 เวลา 13.30 น. ที่ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี รองประธานคณะกรรมการมูลนิธิราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานเปิดการอบรม และกล่าวปาฐกถาพิเศษ โครงการอบรมการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรูปแบบชุมชนบำบัด FAST Model สำหรับบุคลากรของกรมราชทัณฑ์ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยมี นายวัน อยู่บำรุง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข กรมราชทัณฑ์ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพิธี

พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพแบบครบวงจร ผลิตภัณฑ์ส่งเสริมอาชีพของผูัรับการบำบัด เยี่ยมชมหน่วยบริการ Home ward ยาเสพติด และเยี่ยมให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยและผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติด หลักสูตร FAST Model เป็นหลักสูตรที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนี (สบยช.) และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ภูมิภาค กรมการแพทย์ ได้พัฒนาให้เหมาะสมกับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบปิด ซึ่งในปัจจุบันพบว่าผู้ต้องขังมากกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้ที่กระทำผิดร่วมกับมีปัญหาเป็นผู้เสพผู้ติดยาเสพติดร่วมด้วย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยเหลือระหว่างการต้องโทษ ให้ได้รับการบำบัดฟื้นฟูฯ ปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพทางสังคมที่เป็นปัจจัยสำคัญของปัญหายาเสพติดควบคู่กันไปด้วย ถือเป็นการบำบัดฟื้นฟูแบบรอบด้าน

โดยการเสริมพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนี้ให้กับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในทัณฑสถานและสถานพินิจฯ ที่มีบทบาทหน้าที่ในการดูแล ช่วยเหลือ และยังเป็นการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดด้านคุณสมบัติบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายยาเสพติด ฉบับปี 2564 ด้วย สำหรับการอบรมหลักสูตรนี้ ใช้ระยะเวลา 10 วัน เป็นภาคทฤษฎี 5 วัน อบรมพร้อมกันที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช) และภาคปฏิบัติจริงในหอผู้ป่วย 5 วัน โดยช่วงการฝึกปฏิบัติแยกสถานที่ฝึกปฏิบัติ 4 แห่ง คือ 1.สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) 2.โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ 3.โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น และโรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา มีผู้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ ทั้งจากสถานฟื้นฟูอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จากกรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน รวมจำนวน 252 คน

 

ภาพ/ข่าว ประภาพรรณ ขาวขำ/รายงาน

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป