26/07/2024

บึงกาฬ-ชาวบึงกาฬ​ นับพันร่วมใจรำบวงสรวงศาลเจ้าแม่สองนาง​ งานวันสถาปนา​ครบรอบ 13 ปี จังหวัด​บึงกาฬ​ .

บึงกาฬ-ชาวบึงกาฬ​ นับพันร่วมใจรำบวงสรวงศาลเจ้าแม่สองนาง​ งานวันสถาปนา​ครบรอบ 13 ปี จังหวัด​บึงกาฬ​วันที่ 23 มีนาคม 2567 เวลา 16.00 น. ที่​บริเวณ​หน้าศาลเจ้าแม่สองนาง​ อ.เมือง​บึงกาฬ​ จ.บึงกาฬ​ ประชาชนชาวบึงกาฬ​ร่วมรำบวงสรวงศาลเจ้าแม่สองนาง​ สิ่งศักดิ์สิทธิ์​คู่บ้านคู่เมือง​บึงกาฬ​ ในงานวันสถาปนาครบรอบ 13 ปี และงานกาชาดจังหวัด​บึงกาฬ​ ประจำปี​ 2567​ โดยมีนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธี มีนายจุมพฏ​ วรรณฉัตรสิริ​ ผู้ว่าราชการจังหวัด​บึงกาฬ​ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดบึงกาฬ นางแว่นฟ้า ทองศรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ นายนคร ศิริปริญญานันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ นายวินัย โตเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนชาวบึงกาฬร่วมพิธีเป็นจำนวนมากสำหรับงานสถาปนาและงานกาชาด​จังหวัด​บึงกาฬ​ มีกำหนดจัดงาน​ 5​ วัน​ ระหว่างวันที่​ 22​ -​ 26​ มีนาคม​ 2567​ ​นี้​ โดยมีพิธีบวงสรวงใหญ่และพิธีเปิดงานในวันที่​ 23 มีนาคม 2567 ทั้งนี้​ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบการสถาปนาจังหวัดบึงกาฬ​ครบ​ 13​ ปี​ โดยความพิเศษของปีนี้​ คือ​ คุณน้ำตาล น้ำตาล ชลิตา​ ส่วนเสน่ห์​ Miss​ Universe​ ​Thailand​ 2016​ ร่วมฟ้อนรำบวงสรวงแด่ศาลเจ้าแม่สองนาง และรำบวงสรวงปู้พญานาคราชริมโขงบึงกาฬ พร้อมด้วยนางรำชาวบึงกาฬ จาก 8 อำเภอ มาร่วมรำกว่า 2,000 คน ด้วยการแต่งชุดผ้าประจำถิ่น ผ้าทอมือลายหมากเบ็ง ม่วง-ขาว มาเพื่อรำบวงสรวง
จังหวัดบึงกาฬเดิมเป็น อำเภอบึงกาฬ และเป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอชัยบุรี จังหวัดนครพนม ซึ่งมีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่บริเวณปากน้ำสงคราม ต่อมาไม่ทราบชัดว่าปีใด ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บึงกาญจน์ริมฝั่ง ตรงข้ามเมืองปากซัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปี พ.ศ.2459 ทางราชการ ก่อสร้าง ที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม ่และโอนการปกครองอำเภอชัยบุรีมาขึ้นกับจังหวัดหนองคาย ส่วนบริเวณที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอชัยบุรีเดิมนั้น ทางราชการยุบมาเป็นตำบลอยู่ในเขตการปกครอง ของอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมปี พ.ศ.2475 ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งเดินทางมาตรวจราชการที่อำเภอชัยบุรี พบว่า หมู่บ้านบึงกาญจน์ มีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง กว้างประมาณ 160 เมตร ยาวประมาณ 3,000 เมตร ชาวบ้าน เรียก “บึงกาญจน์” เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ทางการจึงเปลี่ยนชื่ออำเภอชัยบุรีเป็น “อำเภอบึงกาญจน์” ตั้งแต่ นั้นมา ต่อมาปี พ.ศ.2477 ทางการได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอบึงกาญจน์ เป็น”อำเภอบึงกาฬ” เพื่อความสะดวกและ เข้าใจง่าย ต่อมาได้แยกอำเภอเซกา อำเภอพรเจริญ อำเภอศรีวิไล และ อำเภอบุ่งคล้า ออกจากอำเภอบึงกาฬ ตามลำดับจังหวัดบึงกาฬ จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป โดยแยกอำเภอจำนวน 8 อำเภอ ได้แก่อำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย
.
จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดที่มีการร้องขอให้จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2537 แต่ไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาในขณะนั้น และได้มีการนำสู่กระบวนการพิจารณาอีกครั้ง โดยผ่านมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อนำทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติการจัดตั้งจึงจะมีผลโดยสมบูรณ์การร้องขอจัดตั้งถูกขอตามข้อเสนอของนายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย โดยแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคายต่อมารัฐสภาได้มีมติเห็นชอบ “ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. …” เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 นำประกาศเป็น “พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554” ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 และใช้บังคับในวันรุ่งขึ้น
.
เมื่อวันที่ 22-25 มีนาคม พ.ศ. 2554 ได้มีการจัดงานฉลองจังหวัดบึงกาฬอย่างยิ่งใหญ่ โดยมี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธี
.
นับตั้งวันที่ 23 มีนาคม 2554 เป็นต้นมาจังหวัดบึงกาฬ จวบจนถึง วันที่ 23 มีนาคม 2567 จึงมีอายุครบรอบ 13 ปี การสถาปนาจังหวัดบึงกาฬ

ณฐพรหม อิทธิพัทธ์พล///บึงกาฬ 0628256546

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป