27/07/2024

  ชุมพร – ยึดทรัพย์ รื้อถอนพืชอาสินและสิ่งก่อสร้าง ในพื้นที่ป่าสงวนป่าต้นน้ำ

ชุมพร – ยึดทรัพย์ รื้อถอนพืชอาสินและสิ่งก่อสร้าง ในพื้นที่ป่าสงวนป่าต้นน้ำ

เจ้าหน้าที่ใช้มาตรการตามมาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ รื้อถอน พืชอาสินและสิ่งก่อสร้าง ในแปลงคดีอาญาที่๑๒/๒๕๖๘ ยึดทรัพย์ที่๑๐/๒๕๖๘ สถานีตำรวจภูธรนาสัก หลังจากหัวหน้าเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งระยะ-นาสักประกาศแจ้ง ลงวันที่ 1 มีนาคม 2567

วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 เจ้าหน้าที่ บูรณาการกำลังร่วมกับ  ร.อ.กอบศักดิ์ นาคหาญ จนท.ปฏิบัติการ ฝ่ายการข่าวฯ  กอ.รมน.จว.ช.พ.   จนท.หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชพ. 6 (นาสัก),จนท.ปทส.ภ.จว.ช.พ.,จนท.กก.5 บก.ปทส.จนท.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งระยะ-นาสัก   ลงพื้นที่ยึดทรัพย์ รื้อถอนพืชอาสินและสิ่งก่อสร้าง ในพื้นที่ป่าสงวนป่าต้นน้ำ   โดยการใช้มาตรการตามมาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ รื้อถอน พืชอาสินและสิ่งก่อสร้าง ในแปลงคดีอาญาที่๑๒/๒๕๖๘ ยึดทรัพย์ที่๑๐/๒๕๖๘     ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๗ เนื้อที่ ๑๓-๖๕ ไร่ บริเวณปาเทพนิมิตร หมู่ที่ ๘  ตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร โดยปฏิบัติตามค่าสั่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมและรักษาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป้า ที่ ๖/๒๕๖๗ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๗ ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ ฯ จะเข้าดำเนินการในวันที่๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗  ทำการยึดทรัพย์ที่๑๐/๕๖๙ บริเวณป่าเทพนิมิตร หมู่ที่ 6 ตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร พิกัดที่ ๐๕๐๙๖๖๕ E ๑๑๓๕๕๑๓ N. ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. แผนที่สังเขปแสดงเส้นทางเข้าแปลงรื้อถอนพืชอาสิน และสิ่งก่อสร้าง ในแปลงคดีอาญาที่ ๑๒/๒๕๖๗ ยึดทรัพย์ที่ ๑๐/๒๕๖๗ ฉบับลงวันที่๑๑ มกราคม ๒๕๖๗ บริเวณป่า ซอยเทพนิมิตร หมู่ที่ ตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร (พิกัดที่ ๔๗ P ๐๙ ๙ ๖๖๔ E. UT ๕ ๑๓ N. (Map. Datum WGS da)

เพื่อเป็นการทำให้พื้นที่ป่าสงวนและป่าต้นน้ำได้มาสู้สภาพดังเดิมให้เป็นป่าต้นน้ำทีมีความอุดมสมบูรณ์ ธรรมชาติการดำรงอยู่ของดิน น้ำ และป่าไม้ จะเป็นไปในลักษณะที่สมดุลและเกื้อกูลกันตลอด หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งจะถูกทำลายลงไปในจำนวนที่ไม่มากนัก ปัจจัยที่เหลืออยู่จะช่วยกันฟื้นฟูปัจจัยที่ถูกทำลาย ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมอย่างรวดเร็ว อาทิ เมื่อต้นไม้ถูกลมพายุพัดล้มลงไปหนึ่งต้น ดินที่สมบูรณ์และน้ำที่ชุ่มชื้นจะช่วยให้ต้นไม้ที่อยู่ข้างเคียง เจริญเติบโตขึ้นมาแทนที่อย่างรวดเร็ว ในทางตรงกันข้าม หากป่าไม้ถูกทำลายลงไปเป็นบริเวณกว้างอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลายาวนาน จะส่งผลให้ปัจจัยอื่นๆ ที่เหลืออยู่เสื่อมสภาพลงตามไปด้วย กล่าวคือ การทำลายป่าไม้ เป็นการเปิดโล่งของผิวดิน ทำให้ผิวดินถูกอัดแน่นขึ้น ความสามารถในการดูดซับน้ำฝนจึงมีน้อยลง เมื่อดินดูดซับน้ำฝนได้น้อย น้ำฝนที่ตกลงมาส่วนใหญ่จึงเอ่อนองตามผิวดิน และไหลลงสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็ว ซึ่งการไหลอย่างรวดเร็วที่ผิวดินนี้ ทำให้เกิดการกัดชะและพัดพาเอาผิวหน้าดินที่อุดมไปด้วยธาตุอาหารไปด้วย เมื่อฝนหยุดตก น้ำฝนที่ซึมลงไปในดินน้อย ทำให้ไม่มีน้ำเอื้ออำนวยให้กระบวนการระเหยน้ำ พลังงานจากรังสีดวงอาทิตย์ส่วนใหญ่จึงเพิ่มความร้อนในดินและอากาศ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น อากาศจะขยายตัวและรองรับไอน้ำมากขึ้น โอกาสที่ฝนตกจึงมีน้อยลง เป็นวงจรที่เชื่อมโยงและส่งผลกระทบถึงกันทั้งหมด

ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514

 

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป