26/07/2024

ชุมพร – ‘รองนายกฯ อนุทิน’ บินด่วน! ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งชุมพร

ชุมพร – ‘รองนายกฯ อนุทิน’ บินด่วน! ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งชุมพร

ชุมพร – ‘รองนายกฯ อนุทิน’ บินด่วน! ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งชุมพร สั่งทุกหน่วยเร่งระดมความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนทุเรียน

วันนี้ (6 พ.ค. 67) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง จังหวัดชุมพร สำรวจแหล่งน้ำ การให้ความช่วยเหลือ พร้อมรับฟังปัญหาและความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนทุเรียน ในพื้นที่ หมู่ 12 ต.ชุมโค อ.ปะทิว และ บริเวณแก่งกะอิ หมู่ 9 ต.รับร่อ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายวรัตม์ มาประณีต รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ผู้นำท้องถิ่น ให้การต้อนรับ

นายสินชัย พึ่งตำบล ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้  เปิดเผยว่า ทางศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ จะได้ทำการเปิดศูนย์ฯชั่วคราวที่ท่าอากาศยาน ชุมพร ในพื้นที่ตำบลชุมโค อ.ปะทิว จ.ชุมพร โดยในวันที่ 6 พ.ค.นี้ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการขนย้ายสารทำฝนหลวงประมาณ 6 ต้น มาไว้ ณ ที่ทำการก่อนโดยในวันนี้ได้มี น้องทหารจาก มทบ 44 น้องอาสากู้ภัย พร้อมเจ้าหน้าที่อีกหลาวหน่วงงานเข้าร่วมกัน และ จะทยอยนำมาเรื่อยๆ จากนั้นวันที่ 9 พ.ค.ก็จะเปิดศูนย์ฯ ชั่วคราวและทำการบินทำฝนหลวงช่วยเหลือพี่น้องประชาชนพื้นที่ประสบภัยแล้งใน จ.ชุมพร   ระหว่างเตรียมความพร้อมศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงที่ จ.ชุมพร ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ค 67 ทางศูนย์ ปฏิบัติการฝนหลวง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ก็ยังรับผิดชอบชุมพรเหนือ และ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จ.สุราษฎร์ธานี ก็ยังรับผิดชอบชุมพรใต้ ก็จะยังเข้ามาปฏิบัติการทำงานหลวงในพื้นที่ จ.ชุมพร ตามปกติ ส่วนศูนย์ฯที่ จ.ชุมพร จะเริ่มปฏิบัติการในวันที่ 8พ.ค.เป็นต้นไป

 

สำหรับปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ จ.ชุมพร ในปี 2567 ข้อมูลจากสำนักงานเกษตร จ.ชุมพร และหน่วยงานเกี่ยวข้อง ได้ประเมินและรายงานสถานการณ์ปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลในระดับอำเภอพบว่า จังหวัดชุมพรมีพื้นที่ทุเรียนที่คาดว่าจะได้รับความเสียหายจากภัยแล้งจำนวน 51,497 ไร่ พื้นที่มังคุดที่คาดว่าจะได้รับความเสียหายจากภัยแล้งจำนวน 3,306 ไร่ แต่สถานการณ์กลับรุนแรงมากกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ เนื่องจากสภาพอากาศมีอุณหภูมิที่ร้อนจัดมากกว่าทุกปี จึงทำให้เกิดแห้งแล้งและน้ำในแหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้งขอดเร็วกว่าทุกๆปี.

นายอนุทิน กล่าวว่า วันนี้เป็นการบูรณาการความร่วมมือกันทุกหน่วยงาน ระดมเครื่องมือ เครื่องจักร ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง โดยเฉพาะชาวสวนทุเรียน ซึ่งจังหวัดชุมพรมีรายได้หลักมาจากภาคการเกษตร คือทุเรียน และทุเรียนก็เป็นพืชที่ต้องการน้ำมากเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ จึงได้สั่งการให้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เร่งระดมเครื่องสูบน้ำทั้งระยะใกล้ และระยะไกลมาในพื้นที่ ถือเป็นการให้การช่วยเหลือจากส่วนกลาง ทางด้านผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ก็ได้ระดมกำลังช่วยเหลือในพื้นที่อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังได้มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เหตุภัยแล้งแล้ว เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเข้ามาดำเนินการ รวมถึงมีงบประมาณในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้ ทั้งนี้ คาดว่าในช่วง 1-2 สัปดาห์ข้างหน้านี้ จะเริ่มมีฝนตกลงมาก็จะช่วยให้ปัญหาคลี่คลาย พี่น้องเกษตรกรก็จะได้คลายความลำบากไปในระดับหนึ่ง

สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดชุมพร มีพื้นที่ประสบภัยและความเสียหาย (ข้อมูล ณ วันที่ 5 พ.ค. 67) จำนวน 8 อำเภอ 38 ตำบล 260 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.ปะทิว 5 ตำบล 14 หมู่บ้าน, อ.ท่าแซะ 1 ตำบล 13 หมู่บ้าน, อ.เมืองชุมพร 7 ตำบล 12 หมู่บ้าน, อ.สวี 11 ตำบล 104 หมู่บ้าน, อ.ทุ่งตะโก 4 ตำบล 35 หมู่บ้าน, อ.หลังสวน 4 ตำบล 41 หมู่บ้าน, อ.ละแล 4 ตำบล 23 หมู่บ้าน และ อ.พะโต๊ะ 2 ตำบล 18 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 107,158 คน 45,949 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ ได้แก่ พืชสวน 4,952 ไร่ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการสำรวจเพิ่มเติม

 

ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป